วิสัยทัศน์

ดำรงสถานะภาพความเป็นหนึ่งในสถาบันการศึกษาชั้นนำของประเทศในการผลิตบัณฑิตและผลงานวิจัยที่มีคุณภาพทางด้านวิศวกรรมชลประทาน

ปรัชญาและปณิธาน

ผลิตบัณฑิตที่มีคุณภาพและเป็นศูนย์กลางขององค์ความรู้ทางด้านวิศวกรรมชลประทานของประเทศ

พันธกิจ

ภาควิชาวิศวกรรมชลประทาน ทำหน้าที่ผลิตบัณฑิตในระดับปริญญาตรี โทและเอกทางด้านวิศวกรรมชลประทานที่มีคุณภาพ ดำเนินการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีพร้อมทั้งเผยแพร่ผลงานออกสู่สังคม สนับสนุนและส่งเสริมการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมที่ดีงามของประเทศ

วัตถุประสงค์

วัตถุประสงค์ 1 ผลิตบัณฑิตระดับปริญญาตรี โท และเอกทางด้านวิศวกรรมชลประทานที่มีคุณภาพ

กลยุทธ 1.1 สร้างบัณฑิตและวิศวกรให้มีความรู้และความเป็นเลิศทางด้านวิศวกรรมชลประทาน มีความคิด มีเหตุผล รู้จักการแก้ปัญหา
     ตัวบ่งชี้
     1. มีหลักสูตรทั้งระดับ ป.ตรี โท เอก ที่ได้มาตรฐานตาม TQF (หลักสูตรระดับ ป.ตรี ได้มาตรฐานและผ่านการรับรองจากสภาวิชาชีพ)
    2. มีการปรับปรุงเอกสารคำสอน หรือเอกสารประกอบการสอน หรือตำราทางวิศวกรรมชลประทานอย่างน้อยภาคการศึกษาละ 1 รายวิชา
    3. บัณฑิตสาขาวิศวกรรมชลประทาน ได้รับการรับรองจากสภาวิชาชีพด้านวิศวกรรม
    มาตรการ
     1. พัฒนาและปรับปรุงหลักสูตรที่สอดคล้องกับความต้องการทางเศรษฐกิจ สังคม ตลอดจนความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี
    2. พัฒนาระบบการเรียนการสอนทั้งภาคทฤษฎีและปฏิบัติ โดยเน้นให้นิสิตรู้จักการ วิเคราะห์และการประยุกต์ใช้ความรู้
    3. ผลิตตำราทางวิศวกรรมชลประทานที่มีคุณภาพ
 กลยุทธ 1.2 สร้างบัณฑิตและวิศวกรให้รู้จักมีความสามัคคี คิดถึงประโยชน์ของส่วนรวม รู้หน้าที่ มีความรับผิดชอบ มีวินัย มีคุณธรรม จริยธรรม จรรยาบรรณในวิชาชีพ
     ตัวบ่งชี้
     1. มีการจัดกิจกรรมนิสิตที่มีลักษณะเป็นกิจกรรมเพื่อส่วนรวม อย่างน้อยปีการศึกษาละ 1 กิจกรรม
    2. มีการสอดแทรกการสอนด้านจริยธรรม คุณธรรมลงในการสอนรายวิชา อย่างน้อยภาคการศึกษาละ 2 รายวิชา
     มาตรการ
     1. ส่งเสริมการจัดกิจกรรมนิสิตด้านค่ายอาสาพัฒนา
     2. กำหนดเป็นนโยบายหลักให้อาจารย์ผู้สอนสอดแทรกคุณธรรมและจริยธรรมแก่นิสิตระหว่างการสอน

วัตถุประสงค์ 2 ผสร้างและเผยแพร่องค์ความรู้และเทคโนโลยีใหม่ทางด้านวิศวกรรมชลประทาน

กลยุทธ 2.1 กระตุ้นให้อาจารย์และนิสิตทำการวิจัยที่มีคุณภาพและพัฒนาเทคโนโลยีอย่างต่อเนื่อง
    ตัวบ่งชี้
     1. จำนวนบทความทางวิชาการืี่ตีพิมพ์ลงในวารสารระดับนานาชาติ ปีการศึกษาละ 2 บทความ
    2. จำนวนบทความทางิชาการที่ตีพิมพ์ลงในวารสารระดับชาติ ปีการศึกษาละ 5 บทความ
    3. มีกิจกรรมประชุมวิชาการโครงงานวิศวกรรมชลประทาน จำนวน 1 ครั้ง
    4. มีผลงานส่งเข้าประกวดหรือทำการยื่นจดสิทธิบัตร หรืออนุสิทธิบัตร จำนวน 1 เรื่องต่อปีการศึกษา
     มาตรการ
     1. ส่งเสริมอาจารย์ให้รวมกลุ่มทำวิจัยทั้งในระดับประเทศและนานาชาติ
    2. กำหนดเป้าหมายจำนวนบทความทางวิชาการที่ลงตีพิมพ์ในวารสาร
    3. กำหนดนโยบายให้นิสิตระดับปริญญาโทและเอกต้องเขียนและนำเสนอบทความทางวิชาการในระดับประเทศหรือตีพิมพ์ลงในวารสาร
    4. จัดโครงการประกวดโครงงานวิศวกรรมและวิทยานิพนธ์ดีเด่น
    5. สนับสนุนให้อาจารย์สร้างผลงานและส่งเสริมให้นำผลงานเข้าประกวดในระดับประเทศ และให้มีการนำไปจดสิทธิบัตร
    6. สนับสนุนและส่งเสริมให้อาจารย์ทำการวิจัยที่เป็นประโยชน์ต่อสังคม
กลยุทธ 2.2 ส่งเสริมและเผยแพร่วิชาการทางด้านวิศวกรรมชลประทานไปสู่สังคม เพื่อการพัฒนาประเทศแบบยั่งยืน
     ตัวบ่งชี้

 

     1. มีการดำเนินโครงการพัฒนาวิชาการอย่างน้อย 1 โครงการต่อปี
    2. มีผลงานจากโครงงานวิศวกรรมชลประทานเผยแพร่ทางเว็บไซต์ อย่างน้อย 10 เรื่องต่อปีการศึกษา
    3. มีเว็บไซต์เผยแพร่ความรู้ด้านวิศวกรรมชลประทาน
    4. มีอาจารย์ที่ไปร่วมเป็นผู้ทรงคุณวุฒิภายนอกมหาวิทยาลัย อย่างน้อย 4 คนต่อปีการศึกษา
     มาตรการ
     1. สนับสนุนให้อาจารย์รวมกลุ่มจัดทำโครงการพัฒนาวิชาการเพื่อให้บริการแก่สังคม
     2. จัดทำ Web Site เพื่อเผยแพร่ข้อมูลทางวิศวกรรมชลประทานสู่สังคม
     3. ส่งเสริมและสนับสนุนให้อาจารย์ได้ออกไปร่วมทำงานเพื่อแก้ไขปัญหาในระดับประเทศ
Scroll to Top